หนูเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ใน Oder Rodentia มีวงจรชีวิต 3-4 เดือน มีฟันแหลม 2 คู่ ซึ่งฟันของหนูจะมีการงอกอยู่ตลอดเวลา หนูมีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งอายุประมาณ 3-4 เดือนก็สามารถแพร่พันธุ์ได้หนูเป็นสัตว์แทะที่ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งหนูเป็นสัตว์ที่นำโรคมาสู่มนุษย์ เช่น กาฬโรค มูรีนไทฟัสSalmonellosis นำเชื้อโรค Leptospirosis ไข้หนูกัด ( rat-bite fever ) นอกจากนี้ยังปล่อยของเสีย ทำให้เป็นแหล่งของพยาธิด้วย เป็นต้น
หนูสามารถ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย เคลื่อนไหวเร็ว หลบซ่อนตัวเก่ง และขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหนูที่พบในประเทศไทย มีประมาณ 36 ชนิด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ
1. หนูพุก (Rattus Norvegicus) ได้แก่หนู่นอรเวย์ พบทั่วโลก เช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูขี้เรื้อน เป็นต้น มักอาศัยอยู่ตามกองขยะ ท่อระบายน้ำ ใต้ถุนอาคาร กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบว่ายน้ำ เป็นหนูขนาดใหญ๋ จมูกทู่ หูเล็กสั้น ตัวเมียมีเต้านม 6 คู่ หางสั้นกว่าหัวและลำตัวรวมกัน ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเท่า ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ออกลูกปีละ 4-7 ครอก ครอกหนึ่งมีจำนวน 8-12 ตัว
2. หนูท้องขาว (Rattus Rattus) พบทั่วไปตามสวน หรือท้องนาในชนบท ชอบทำรังบนต้นไม้ เพดานบ้าน บางครั้งเรียกว่า หนูหลังคา (Roof Rat) เป็นหนู่ที่ชอบทำลายพืชผลทางการเกษตร ในโรงเก็บ ชอบกินผลไม้ แมลงและหอย เป็นหนู่ขนาดกลาง รูปร่างเพรียว ว่องไว ปราดเปรียว ขนอ่อนนุ่มเป็นเงา จมูกแหลม หูใหญ่ยาว ตาโปน ตัวเมียมีเต้านม 5-6 คู่ หางจะยาวเท่ากังหัวและลำตัวรวมกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน หรือเหลืองอ่อน หรือเหลืองอ่อนๆ ขนใต้ท้องสีขาวครีม ออกลูกปีละ 4-6 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 6-8 ตัว
3. หนูหริ่ง (Mus Musculus) บางครั้งเรียกว่า House Mouse เป็นหนู่ขนาดเล็ก ทำรังในบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามลิ้นชักตู้ หรือตามซอกมุม ในห้องรับแขก กินอาหารได้ทุกชนิด ชอบกินเมล็ดพืช ข้าว ขอบกัดกระดาษ เสื้อผ้า แทะขอบตู้เตียง หรือสายไฟ มีจมูกแหลม ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ แล้วแต่ละชนิด หางจะยาวว ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเทา ด้านใต้ท้องสีเทาอ่อน ออกลูกปีละประมาณ 8-10 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 5-6 ตัว
4. หนูจี็ด (Rattus Exulans) เป็นตระกลูของ Rattus ที่มีขนาดเล็ก แต่ตัวโตกว่าหนู่หริ่ง น้ำหนักตัวประมาณ 36 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 115 มม. หางยาวประมาณ 128 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 23 มม. ความยาวหูประมาณ16 มม. มีเต้านมรวม 4 คู่ อยู่ที่หน้าอก 2 คู่ ที่ท้อง 2 คู่ ลักษณะรูปร่างเพรียว จมูกแหลม ตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีขนแข็ง (Spine) ขึ้นแซมบ้างเล็กน้อย ขนด้านท้องสีเทา ผิวหางเรียบ ไม่มีเกล็ดมีสีดำตลอด มีถิ่นที่อยู่อาศัยตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาของอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว กินอาหารได้ทุกชนิด ออกหากินตอนกลางคืนจะส่งเสียงร้อวจี็ดๆ ให้ได้ยิน การแพร่พันธุ์ตัวเมียออกลูกครั้งละ 8-12 ตัว
วิธีการควบคุมและกำจัดหนู โดยบริษัท จอร์จสตัน เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด
สำรวจพื้นที่ฟรี ที่เบอร์ 02-736-9663, 02-736-8974, 02731-5359
• สำรวจบริเวณทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประเมินสภาพปัญหาก่อนทำการบริการ ได้แก่ร่องรอยหลักฐาน (Evidence or Rat Signt) ที่เกิดจากหนู เช่น รูหนู,รังหนู,ทางวิ่ง,มูลหนู,รอยกัดแทะทำลายหรือคราบไคล ( Smer Mark ) เป็นต้น
• ทำการวางเหยื่อ(Baiting) กำจัดหนูในสถานีถาวร (Rodent Bait Station) จะมีเหยื่อชนิดออกฤทธิ์ช้าและเหยื่อชนิดออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งการวางเหยื่อจะวางตามบริเวณที่มีการระบาด โดยเน้นรอบนอกอาคาร ตามความเหมาะสมทั้งชนิด ก้อนขี้ผึ้ง และคลุกเมล็ด (Waxblock & Grain Mixed)
• ทำการวางกระดานกาว (Glue Board/Strick board) ในสถานีถาวร ( Glue Board Station) ตามพื้นที่ๆเหมาะสมโดยเน้นพื้นที่ภายในอาคาร และบริเวณที่วางเหยื่อพิษไม่ได้
• การแทรกกิ้ง (Tracking) โดยใช้เคมีชนิดผง หรือชนิดเจล ตามบริเวณทางเข้า-ออกของหนูทำการวางกับดัก (Trapping) จะพิจารณาเลือกให้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยใช้กับดักเป็น หรือ ตาย(Live Trap & Snaptrap) เช่น กรงดักจับ
• ตรวจเช็ค/ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง
• คำแนะนำป้องกัน และกำจัดหนูเบื้องต้น เช่น การป้องกันการเข้ามาในพื้นที่ (Exclusion) ลดแหล่งอาศัย และแหล่งหลบซ่อน โดยการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ/ลด แหล่งอาหารได้แก่การจัดและทิ้งขยะ อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น