เรือด (Bed bug) เป็นแมลงที่อยู่ใน Order Hemiptera (hemi = half, pteron = wing) Family Cimicidae เป็นปรสิตภายนอกของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมและสัตว์ปีก ชนิดที่กัดและดูดเลือดคนที่สำคัญ คือ Cimex hemipterus ซึ่งพบในเขตร้อน และ Cimex lectularius พบในเขตอบอุ่น ในประเทศไทย ไม่มีรายงานการระบาดของเรือดมาหลายสิบปี จนทำให้คนวัยหนุ่มสาวใน ยุคปัจจุบันไม่รู้จักเรือด อย่างไรก็ตามเริ่มมีข่าวการพบตัวเรือดบ่อยมาก ขึ้นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา และข่าวการระบาดของตัวเรือดออกมากัด ผู้โดยสารในรถไฟหลายขบวน ที่วิ่งในเส้นทางระหว่างกรุงเทพมหานคร ไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนทำให้การรถไฟแห่ง ประเทศไทยต้องหยุดการเดินรถไฟชั่วคราวเพื่อดำเนินการกำจัดตัวเรือด ในตู้โดยสาร นอกจากนี้ตามโรงแรมต่างๆ ก็เริ่มพบตัวเรือดมากขึ้น เพราะติด มากับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นเหตุให้เกิดการระบาดของตัวเรือดใน โรงแรมและที่พักในเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย เช่น กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต และกระบี่ ส่งผลให้ผู้ประกอบ การธุรกิจโรงแรมและที่พักประสบปัญหาตัวเรือดระบาดในที่พักเป็นอย่าง มาก ทั้งๆ ที่เป็นสถานที่ซึ่งสะอาดแต่ก็สามารถเป็นแหล่งอาศัยและขยาย พันธุ์ของตัวเรือดได้ หากมีตัวเรือด ติดเข้ามาแม้เพียงไม่กี่ตัวและไม่ สามารถกำจัดให้หมดสิ้นไป
ชีววิทยาและนิเวศวิทยา
เรือดมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) ประกอบด้วย ระยะไข่ (Egg) ตัวกลางวัย (Nymph) และตัวเต็มวัย (Adult) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายตัวกลางวัยแต่ขนาด ใหญ่กว่า เรือดตัวเมียวางไข่วันละ 1-5 ฟอง แต่ก็อาจวางไข่ได้มากถึง วันละ 12 ฟอง ตลอดชีวิตเรือดตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้มากถึง 500 ฟอง บริเวณที่เรือดชอบวางไข่ ได้แก่ หัวเตียง ใต้ไม้หัวเตียง ขอบเตียง กรอบไม้ใต้เตียง ฐานรองที่นอน (Box spring) ไม้บัวหัวเตียงและรอบๆ ห้อง บนที่นอน ขอบที่นอน ใต้ที่นอน โต๊ะข้างเตียงสำหรับวางโทรศัพท์ และโคมไฟ โคมไฟข้างเตียง พรมบริเวณริมผนังกำแพง โต๊ะเครื่องแป้ง กล่องใส่กระดาษทิชชูที่ทำด้วยไม้ ที่วางกระเป๋า ตู้เสื้อผ้า เก้าอี้หวาย ผ้า ม่าน ผนังห้อง ขอบเสา ขอบหน้าต่าง กรอบรูป รูหรือรอยแตกบนผนัง ปลั๊กไฟ ฯลฯ
ไข่ของเรือดมีสีขาว ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร มีฝาปิดและมี สารซีเมนต์เหนียวเคลือบอยู่ทำให้ยึดติดกับบริเวณที่วางไข่ ตัวกลางวัย ของเรือดมี 5 ระยะ (ระยะที่ 1-ระยะที่ 5) โดยแต่ละระยะต้องกินเลือด อย่างน้อย 1 ครั้ง จึงจะเจริญเติบโตไปสู่ระยะต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ตัวกลางวัยของเรือดสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน 3-4 เดือน โดยที่ไม่ต้องกิน เลือด จากระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาในการเจริญเติบโต ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้อัตราการเจริญเติบโตขึ้นอยู่กับอาหารและ อุณหภูมิภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
วงจรชีวิตของเรือด
เรือดตัวเต็มวัยมีลักษณะลำตัวแบนรี ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ส่วนหัวสั้น มีหนวด 4 ปล้อง มีปากแบบเจาะดูด (Piercing sucking) ลักษณะเป็นปล้อง 3 ปล้อง สามารถพับเก็บไว้ในร่อง ด้านล่างใต้ลำตัวได้ ส่วนอกด้านหน้ามีลักษณะเว้า ด้านข้างขยายออกกว้าง กว่าปล้องอื่น ปีกไม่เจริญ มีลักษณะเป็นแผ่นแข็งสั้น (Wing pad) มีขา 6 ขา ส่วนท้องเป็นรูปไข่เห็นปล้องชัดเจน ตัวผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์ โค้งเรียวแหลมอยู่ปลายลำตัว ตัวเมียมีรูเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม (Spermalege หรือ organ of Berlese) อยู่ที่บริเวณส่วนท้องปล้องที่ 5 สำหรับให้ตัวผู้ใช้ ในการผสมพันธุ์ เรือดในระยะตัวเต็มวัยจะมีต่อมกลิ่น (Scent gland) 1 คู่ ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของส่วนอก และในระยะตัวกลางวัยจะพบต่อมที่มี ลักษณะคล้ายกันนี้ที่บริเวณตอนบนของส่วนท้อง ต่อมเหล่านี้จะทำให้ตัว เรือดมีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นสารประเภท Hexanol และ Octenol ซึ่งเรือดจะปล่อยสารที่มีกลิ่นเหม็นนี้ออกมาจากลำตัวเพื่อใช้ป้องกันตัว ตัวเต็มวัยมีอายุนาน 6-12 เดือน สามารถหลบซ่อนและไม่ต้องกินเลือดได้ นานหลายเดือนจนถึง 1 ปี
โดยปกติแล้วเรือดจะออกมาดูดกินเลือดคนในเวลากลางคืน รวมทั้ง ในที่มืด เช่น เวลาปิดไฟเข้านอนหรือในโรงภาพยนตร์ แต่เรือดอาจกัดดูด เลือดคนในเวลากลางวันได้เมื่อต้องการเลือด โดยปกติตอนกลางวันเรือด จะชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามขอบที่นอน ซอกเตียง ซอกเก้าอี้ ตามรอยแตกของพื้นห้อง ผนังห้อง และตามรอยแตกของอาคาร มักพบตัว เรือดตามอาคารสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงเรียน รถไฟ รถโดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานที่ที่ค่อนข้างสกปรกและมี คนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น เรือนจำ ค่ายผู้อพยพ ค่ายทหาร สามารถคลานออกมาจากที่หลบซ่อนได้ไกลถึง 6เมตร เพื่อออกมา กัดดูดเลือดคนแล้วกลับเข้าไปหลบซ่อนในที่อยู่เดิมหรือที่ใหม่ได้
วิธีการควบคุมและกำจัดเรือด โดยบริษัท จอร์จสตัน เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด
สำรวจพื้นที่ฟรี ที่เบอร์ 02-736-9663, 02-736-8974, 02731-5359
• สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนทำบริการ ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับท่าน
• ดำเนินการกำจัดตัวเรือดโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมกับแหล่งหรือวัสดุที่พบตัวเรือด โดยใช้วิธีการผสมผสานทั้งที่ไม่ใช้สารเคมีใช้และใช้สารเคมี
• กรณีใช้สารเคมี ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่ (Space Spray) โดยพ่นแบบฝอยละเอียด(Misting or Ulv) โดยดำเนินการ จนสำรวจไม่พบตัวเรือด
• ตรวจเช็ค/ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง
• คำแนะนำในการป้องกันเรือดเบื้องต้น คือ ดำเนินการปรับปรุงห้องพัก โดยการรื้อทำลายแหล่งหลบซ่อน ของเรือดที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น ใต้เตียง รอยขาดของวอลล์เปเปอร์ รอยต่อระหว่างหัวเตียงกับผนังห้อง รอยต่อระหว่างไม้บัวที่ พื้นกับผนังห้อง และซ่อมแซมปรับปรุงใหม่โดยใช้ซิลิโคน (Silicone) หรือกาวยางยาอุดแนวรอยแตกเหล่านี้เพื่อไม่ให้ เป็นที่หลบซ่อนของเรือดอีกต่อไป