แมลงสาบ มีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิตประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg) ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยโดยตัวอ่อนระยะแรกที่ออกจากไข่จะยังไม่มีปีก เมื่อผ่านการลอกคราบ 2–3 ครั้ง จะเริ่มมีปีกและอวัยวะสืบพันธุ์ค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นจนเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกเจริญเต็มที่และอวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์
ไข่ของแมลงสาบมีปลอกหุ้ม เรียกว่า ฝักไข่ (ootheca) ลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแดงจำนวนของไข่แต่ละฝักจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด โดยทั่วไปจะมีประมาณฝักละ 16-30 ฟอง แมลงสาบสามารถวางไข่ได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-8 ชุด แต่บางชนิดอาจวางไข่ได้มากถึง 90 ชุด บางชนิดจะนำฝักไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงจะปล่อยออกจากลำตัว ลักษณะการวางไข่ของแต่ละชนิดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ชอบวางไข่ในตู้ทึบ ลิ้นชัก หรือกล่องกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ อาจวางไข่อยู่ตามซอกหรือมุมห้อง
บางครั้งอาจจะวางไข่ติดกับฝาผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ ไข่ของแมลงสาบจะฟักภายในระยะเวลา 1–3 เดือนตัวอ่อนของแมลงสาบที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวและไม่มีปีก เมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของแมลงสาบแมลงสาบตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนรี รูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1–8 เซนติเมตร มีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้มหรือสีเขียว โดยทั่วไปแมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านส่วนด้านล่างเรียวลง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็ก ๆ เชื่อมอยู่ แมลงสาบอาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ ปกติพวกที่มีปีกเจริญดี จะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ ปีกคู่หลังมีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของแมลงสาบจะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมดและบางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้นก็ได้แม้ว่าแมลงสาบจะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่า จะบินกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น
แมลงสาบมีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขามีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้แมลงสาบวิ่งได้เร็วมาก มีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ มีขนเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่รอบ ๆ หนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบกัดเคี้ยว สามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษหรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบมีนิสัย ชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่มีบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน
วิธีการควบคุมและกำจัดแมลงสาบ โดยบริษัท จอร์จสตัน เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด
สำรวจพื้นที่ฟรี ที่เบอร์ 02-736-9663, 02-736-8974, 02731-5359
• สำรวจบริเวณพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประเมินสภาพปัญหาก่อนทำการบริการภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับท่าน
• ฉีดพ่น (Spraying) สารเคมี ภายในและรอบนอกอาคารโดยเน้นแหล่งหลบซ่อนที่พบตัว,แหล่งอาหารและบริเวณที่สำรวจพบร่องรอยหลักฐานที่เกิดจากแมลงสาบ มูล กลิ่นสาบ
• อบควันเคมี (Fogging) ตามรอยแตกแยก และแหล่งหลบซ่อนที่ไม่สามารถฉีดพ่นด้วยสารเคมีได้ เช่น ท่อระบายน้ำทิ้ง,ใต้ถุนอาคาร
• วางสถานีกาวดักจับ (Glue Board Station) ในบริเวณที่เหมาะสม ซึ่งการใช้สารเคมีน้ำ และเคมีผงไม่อาจดำเนินการได้
• การทาแลคเกอร์(Lacquering)ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีระยะการตกค้างที่ยาวนาน ใช้ตามบริเวณที่ไม่เหมาะสมกับวิธีการอื่นๆ ดังกล่าวมาทั้งหมด ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการระบาดของแมลงอย่างรุนแรง
• วางเหยื่อพิษสำเร็จรูปชนิดเจล(Gel) ซึ่งเป็นเหยื่อแมลงสาบที่มีความปลอดภัยสูงใช้สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดขอแมลงสาบและในจุดที่ไม่สามารถใช้สารเคมีชนิดน้ำได้ เช่น ภายในห้องครัว,ร้านอาหาร,ภัตตาคาร,ไลน์ผลิตอาหาร เจลชนิดนี้มีการกำจัดและทำลายแมลงสาบอย่างต่อเนื่อง(Domino) และมีผลการทำลายที่ยาวนาน
• ตรวจเช็ค/ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง
• คำแนะนำเรื่องสุขาภิบาล หรือการดูแลรักษาความสะอาดของอาคารและสถานที่ ซึ่งเป็นมาตรการในการลดปัจจัยที่ทำไห้เกิดการแพร่ขยายพันธ์ อันได้แก่ อาหาร,ที่อยู่อาศัย และ น้ำ โดยผู้เชียวชาญ
• ขอความร่วมมือในการให้บริการ เพราะการฉีดพ่นแมลงสาบจะต้องกระทำอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั่วทุกซอกทุกมุมที่เป็นแหล่งหลบซ่อน/พักอาศัยของแมลงสาบ บริเวณปิดล็อคที่ฉีดพ่น หรือทำการบริการไม่ได้จะเป็นจุดแพร่ระบาดของแมลงสาบ ทำให้การควบคุมไม่ได้ผล