ฤดูร้อนของประเทศไทยนั้นแสนยาวนาน นอกจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว ชวนให้เหงื่อไหลไคลย้อยแล้วนั้น ฤดูร้อนยังมีแมลงวันวายร้ายที่น่ากลัวไม่แพ้แดดที่แผดเผาด้วยอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้อาหารต่างๆ เกิดการเน่าเสียได้ง่าย เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว บรรดาของเน่าเสีย และสิ่งปฎิกูลคือของชอบของเหล่าแมลงวัน แมลงวันมีประมาณ 6,000 ชนิด แต่จะมีสามชนิดที่เป็นพาหะนำโรคและก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสุขอนามัยมากที่สุด
ชนิดที่ 1 คือ แมลงวันบ้าน (House Flies) เป็นแมลงวันที่มีการแพร่กระจายไปทั่วโลกทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาวบางพื้นที่ เป็นแมลงที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ (คงไม่มีใครอยากไปใกล้ด้วย) และเป็นแมลงที่สร้างปัญหาทางสาธารณสุขและปศุสัตว์ แมลงวันบ้านจะพบมากในฤดูร้อน บริเวณในมีเศษอาหาร มูลสัตว์ จะพบแมลงวันบ้านเป็นจำนวนมาก แมลงวันเหล่านี้จะรบกวนทั้งมนุษย์และสัตว์ตลอดเวลา จึงเป็นปัญหาต่อผู้ที่ประกอบอาชีพปศุสัตว์เป็นอย่างมาก แหล่งเพาะพันธ์ของแมลงวันบ้านคือ กองมูลสัตว์ เศษอาหารและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ท่อระบายน้ำโสโครก
ชนิดที่ 2 แมลงวันหัวเขียว (Blow Flies) แมลงวันชนิดนี้จะมาพร้อมกับตัวที่มีขนาดใหญ่ ตัวสีเขียวเข้ม ไปจนถึงสีน้ำเงินปนดำ แมลงวันหัวเขียวจะกินซากสัตว์ที่ตาย หรือเนื้อเน่า เรามักจะพบแมลงวันหัวเขียวมาก บริเวณโรงฆ่าสัตว์ แผงขายเนื้อ แผงขายปลา และกองขยะบริเวณตลาดสด รวมถึงกองผลไม้สุกที่ใกล้เน่า แหล่งเพาะพันธ์แมลงวันหัวเขียวคืออุจจาระของคน อุจจาระของสัตว์กินเนื้อและซากสัตว์ที่ตายแล้ว
ชนิดที่ 3 แมลงวันหลังลาย (Flesh Flies) แมลงวันชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่าสองชนิดข้างต้น ลำตัวมีสีเทา บริเวณหลังมีลายคล้ายตารางหมากรุก จึงเป็นที่มาของชื่อ แมลงวันหลังลายจะมีความหลากหลายทั้งพฤติกรรมการกินอาหารและแพร่พันธ์ เช่นบางครั้งออกลูกเป็นตัวอ่อนโดยฝังตัวอ่อนไว้ตามบาดแผล หรือในเนื้อเน่า จึงเป็นสาเหตุของโรค Myiasis ของคนและสัตว์เลี้ยง แต่แมลงวันชนิดนี้พบได้ทั่วประเทศไทยแต่มีความหนาแน่นต่ำกว่าแมลงวันบ้านและแมลงวันหัวเขียว
ตามที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า แมลงวันเป็นพาหะนำโรค เนื่องจากมีนิสัยหากินตามแหล่งสกปรก เชื้อโรคต่างๆ จึงติดตามขาและลำตัว เมื่อแมลงวันบินไปตอมอาหารของคนและสัตว์ เชื้อโรคจึงปะปนไปกับอาหาร นอกจากนี้แมลงวันยังสำรอก และขับถ่ายของเหลวตลอดเวลากินอาหาร เชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารจึงถูกปะปนเข้าไปในอาหารอีก เรียกได้ว่าสกปรกเพิ่มอีกสองเท่า ตามตำราเรียนแมลงวันเป็นพาหะของโรคอหิวาตกโรค โรคที่น่ากลัวมากในก่อน แต่จริงๆ แล้วแมลงวันยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดเช่น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคบิดจากเชื้อแบคทีเรีย, ไข้ไทฟอยด์, พาราไทฟอยด์ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคอหิวาตกโรค, อาการอาหารเป็นพิษ โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว เช่น โรคบิดมีตัว โรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ เนื่องจากแมลงวันสามารถนำไข้พยาธิได้ เช่นพยาธิเส้นด้าย, พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ โรคที่เกิดจากไวรัส เช่น โรคโปลิโอ และโรคผิวหนังที่เกิดจากแมลงวันบินไปเกาะผิวหนัง เช่น โรคคุดทะราด และโรคเรื้อน
วิธีการควบคุมและกำจัดแมลงวัน โดยบริษัท จอร์จสตัน เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด
สำรวจพื้นที่ฟรี ที่เบอร์ 02-736-9663, 02-736-8974, 02731-5359
• สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนทำบริการ ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับท่าน
• ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่ (Space Spray) โดยพ่นแบบฝอยละเอียด (Misting or Ulv) หรือพ่นแบบหมอกควัน (Fogging) ทั้งภายในและภายนอก
• ฉีดพ่นเคมีรอบ ๆ อาคารโดยเน้นบริเวณที่ทิ้งขยะ , แหล่งเกาะพักและแหล่งอาหาร
• วางหรือโรยเหยื่อแมลงวันชนิดเม็ด ในจุดที่เกิดปัญหาและคาดว่าจะเกิดปัญหา
• ฉีดพ่นเคมีกำจัดตัวอ่อน (Larvicide) บริเวณกองขยะ / บริเวณใกล้เคียงเพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน
• คำแนะนำในการลดแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น การจัดเก็บขยะ และการทิ้งขยะควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ (ไม่ควรทิ้งขยะไว้นานเกิน 7-10 วัน เพราะจะทำให้แมลงวันฟักออกเป็นตัวเต็มวัย (Adult)
• ตรวจเช็ค/ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง